วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ดวง Full moon ดวง New Moon



เมื่อกี้ออกไปกินข้าวข้างนอกแหงนหน้ามองท้องฟ้าเห็นพระจันทร์ใกล้จะเต็มดวง ก็รู้สึกว่าเพิ่ง New Moon (อมาวสี) ไปวันก่อนแท้ๆเผลอแป๊บๆ ก็จะ Full Moon (เพ็ญปูรมี) อีกแล้ว
.
ตอนเด็กรู้สึกแต่ละวันมันผ่านช้าแสนช้า แต่พอแก่หน่อยก็เปลี่ยนเป็นรู้สึกว่าชีวิตคนเราวันๆผ่านไปเร็วเนอะ
.
ทั้ง Full Moon และ New Moon นี้ในทางวิชาโหราศาสตร์ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็น “จังหวะฟ้า” ที่สำคัญในรอบเดือน(หรือครึ่งเดือน)
.
คือการพิจารนาดวงชะตานั้นสำหรับสำนักยูเรเนี่ยน(โดยเฉพาะการอ่านดวงทรานสิตหรือดวงจรปัจจุบัน) ก็ไม่ใช่ว่านึกจะอ่านจรก็อ่านกันไปได้เรื่อยเปื่อย
.
แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านไปตาม "จังหวะของฟ้า" ไปตามลำดับเสมอ


เช่นจังหวะปีก็ใช้ดวงสงกรานต์(อาทิตย์จรถึงจุดมกร เมษ กรกฏ หรือตุล)หรือดวงทินวรรษ(อาทิตย์จรกุมอาทิตย์กำเนิด)
.
ส่วนจังหวะเดือนใช้ดวง Fullmoon หรือ Newmoon เป็นเครื่องมือสำคัญในการอ่านดวง เช่นนี้เป็นต้น

ผ่านจากจังหวะใหญ่พวกนี้ไปแล้วจึงค่อยไปสู่การพิจารณาดวงจรเป็นรายวันอีกที จะกระโดดข้ามไปอ่านจรรายวันเลยนั้นโดยหลักการถือว่าไม่ถูกต้อง
.
(แม้ในทางปฏิบัติจริงเดี๋ยวนี้จะนิยมข้ามเรื่องของจังหวะฟ้านี้ไปดูจรรายวันกันเลยเสียทีเดียว ซึ่งส่วนนึงก็เป็นด้วยความสะดวกจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันเป็นเครื่องมือหลักด้วย)
.
ทั้ง Fullmoon(อาทิตย์จรเล็งจันทร์จร) และ New Moon(จันทร์จรกุมอาทิตย์กำเนิด) นี้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการอ่านดวงรายเดือน
.
จะอ่านเลือกอ่านเพียงชนิดเดียวเพื่อพิจารนาเรื่องในวงรอบจันทร์นั้นๆ (อ่าน New Moon ไปถึง New Moon หน้า หรืออ่าน Full Moon นี้ไปถึง Full Moon หน้า)
.
หรือจะอ่านมันทั้งคู่เลยก็ได้ซึ่งก็จะกลายเป็นการอ่านรายครึ่งเดือน (อ่านจาก New Moon นี้ไปถึง Full Moon หน้า หรืออ่านจาก Full Moon นี้ไปถึง New Moon หน้า)
.
สำหรับการอ่านรายเดือนนั้นดูเหมือนว่าจังหวะ New Moon(อมาวสี) จะได้รับความนิยมมากกว่า
.
เนื่องจากถือว่า New Moon นั้นเป็นจุดสิ้นสุดและเริ่มต้นของวัฏจักรวงรอบชีวิตของดวงจันทร์ (ทำนองเดียวกับวันเหมายันคือจุดสิ้นสุดและเริ่มต้นของวัฏจักรวงรอบชีวิตของดวงอาทิตย์)
.
เนื่องจาก Full Moon (และ New Moon) นี้เป็นเรื่องของดาวจรปัจจุบัน ซึ่งคนบนโลกใช่ร่วมกันหมด เพราะฉะนั้นการอ่าน Full Moon (และ New Moon) นี้จึงต้องอ่านเทียบกับดวงกำเนิด(หรือโค้ง)เสมอไป
.
จะอ่านลอยๆไม่ได้ ไม่งั้นคนบนโลกจะเจอเรื่องเดียวกันหมดทุกคน
.
โดยจะเพ่งเล็งไปที่ดาวเดี่ยวที่ทำมุมถึงดาวในดวงกำเนิด เพราะถือว่าจะเป็นเรื่องที่มีความเด่นชัดเป็นพิเศษในรอบเดือนนั้น (แต่จะต้องไม่เกินจากกรอบของดวงปีและดวงกำเนิด)
.
ส่วนบรรดาศูนย์รังสีที่ทำมุมถึงปัจจัยกำเนิดก็จะถือว่ามีกำลังหรือความโดดเด่นน่าสนใจลดหลั่นกันลงไป อาจจะน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจก็ย่อมได้
.
ชีวิตบางทีไม่ได้มีอะไรที่น่าสนใจหรือน่าตื่นเต้นทุกเดือนหรอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น