วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เรือนชะตาทั้ง 12 ตามคติโหราศาสต์พระเวท


ความหมายของเรือนชะตาทั้ง 12 ตามคติโหราศาสต์พระเวท (โหราศาสตร์ฮินดู) จะสังเกตว่ามีบางความหมายของบางเรือนที่ใช้แตกต่างออกไปจากหลักนิยมทั่วไปพอสมควร :)



------------------------

ภพที่ 1 หรือภพลัคนา อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ ตนุ กัลปะ อทยะ เลขา ชันมะ อุทยะ ลัคนะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 1 ทั้งสิ้น เช่น อทยะ แปลว่าที่ 1 ชันมะ แปลว่ากำเนิด เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือคำว่า ตนุ ซึ่งแปลว่าร่างกาย บุคคล หรือรูปร่าง
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
ร่างกาย ลักษณะโดยทั่วไป ที่เกิด การคลอด สิ่งแวดล้อมในการคลอด ผิว ใบหน้า ผมศีรษะ สุขภาพ กำลังกาย ความแข็งแรงและความยั่งยืนของชีวิตจิตใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกที่แสดงออกทางใบหน้า บุคลิก ลักษณะ บุญวาสนา กำลังใจ ความมีสง่าราศี สิ่งแวดล้อม

------------------------

ภพที่ 2 หรือภพกุฏุมพะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ วาคะ อรรถ ภุกติ นยนะ วิตตะ มังคละ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 2 ทั้งสิ้น เช่น วาคะ แปลว่าการพูด ภุกติ แปลว่าอาหาร นยนะแปลว่าดวงตาเป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกใช้กันมากที่สุดก็คือคำว่า กุฏุมพะ ซึ่งแปลว่าครอบครัว สมบัติของครอบครัว หรือของใช้ภายในบ้าน วิชาโหราศาสตร์ไทยเราเรียกว่าภพกฏุมพะ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
ลำคอ สายตา การมองเห็น ปาก การพูด วาทศิลป์ อาหาร การกิน ความขยันขันแข็ง งานประจำ ความมั่งคั่งที่เกิดจากรายได้เป็นประจำ รายได้ประจำ ฐานะเดิม การเดินทางใกล้ๆโดยไม่มีความหมายเป็นพิเศษ การศึกษาในเบื้องต้น การสอดรู้สอดเห็น ความเป็นไปในครอบครัว ครอบครัว การช่วยเหลือผู้อื่น หัวเรือใหญ่ ชอบรับใช้ผู้อื่น ความทะเยอทะยาน สาเหตุที่ทำให้ตาย เครื่องนุ่งห่ม อาภรณ์ต่างๆ เพื่อนกินเพื่อนเที่ยว เครื่องเสริมสวยต่างๆ

------------------------

ภพที่ 3 หรือภพสหชะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ ทุศจิกะยะ วีรยะ วิกรม กรรณา สโหทระ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 3 ทั้งสิ้น เช่น วิรยะ แปลว่าความกล้า กรรณา แปลว่าหู สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ สหชะ ซึ่งแปลว่าเกิดร่วมกัน ผลิตในเวลาเดียวกัน หรือพี่ชายน้องชาย
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
พี่ชายน้องชาย เพื่อนตาย ความกล้าหาญ วีรบุรุษ ความโกรธ การตัดสินใจโดยขาดสติ หน้าอก มือ แขน บ่า การแก้แค้น การทรยศหักหลัง ความฉลาดแกมโกง การเอาเปรียบผู้อื่น การต่อสู้ซึ่งหน้า จิตไร้สำนึก สติปัญญา

------------------------

ภพที่ 4 หรือภพพานธวะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ ปาตาละ มาตฤ วิทยา ยานะ อำพุ สุขะ กษติ เวศมะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 4 ทั้งสิ้น เช่น มาตฤ แปลว่ามารดา วิทยา แปลว่าการศึกษา ยานะ แปลว่ายานพาหนะ เวศมะ แปลว่าบ้านเรือน เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ พานธวะ ซึ่งแปลว่าญาติพี่น้อง ญาติทางฝ่ายมารดา การเกี่ยวดองกันเป็นญาติ หรือเพื่อนฝูง ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเราเรียกว่าภพพันธุ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
การศึกษาขั้นกลาง ปัญญาที่เกิดจากการศึกษา หัวใจ ทรวงอก หลัง ปอด มารดา ผู้อุปการะในวัยเด็ก พี่น้องทั่วไป ญาติทางฝ่ายมารดา ยานพาหนะต่างๆ ช้างม้าวัวควาย สัตว์เลี้ยง สมบัติที่เป็นหลักฐาน บ้านเรือน ที่ดิน ไร่สวน อาณาจักร การเดินทางไกลโดยหน้าที่ การย้ายที่อยู่ การสะสมเสบียงอาหาร การอยู่ดีกินดี ฐานะทางฝ่ายมารดา ความสุขโดยทั่วไป

------------------------

ภพที่ 5 หรือภพปุตระ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ ธี ปัญจกะ เทวะ ราชะ ปิตฤ นันทนะ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 5 ทั้งสิ้น เช่น ธี แปลว่าอัจฉริยะ ปัญจกะ แปลว่า 5 เทวะ แปลว่าเทวดา เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ ปุตระ ซึ่งแปลว่าบุตรชาย เด็กๆ รูปสัตว์จำพวกเสือหรือสิงโต ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเราเรียกว่าภพปุตตะ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
ท้อง ช่องท้อง กระเพาะ ลำไส้ ตับ ลิ้นปี่ ลูก บริวาร เด็กๆ การสืบสายโลหิต อัจฉริยะ ความรู้ที่เกิดโดยไม่ได้ศึกษา พรสวรรค์ การคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้า ชื่อเสียง ศิลปะต่างๆ ไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความอยากรู้อยากเห็นในเหตุการณ์ต่างๆเพื่อรู้แจ้งเห็นจริง ความผาสุกเกี่ยวกับเด็กและบริวาร การค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการใหม่ๆ

------------------------

ภพที่ 6 หรือภพอริ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ โรคะ อำศะ คัสตระ ภยะ ริปุ กษะตา ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 6 ทั้งสิ้น ทั้งสิ้นเช่น โรคะ แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บ ภยะ แปลว่าภยันอันตราย ริปุ แปลว่าศัตรู เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ อริ แปลว่าศัตรู ข้าศึก ปรปักษ์ หรือการสู้รบ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
เอว สะโพก ไต โรคเรื้อรังประจำตัว ศัตรูลับ การถูกลอบกัด หนี้สิน อุปสรรคเล็กๆน้อยๆ โจรกรรม การวิวาทเล็กๆน้อยๆ ความหวาดกลัวต่อศัตรู ความทุกข์ใจ การถูกใส่ความ บัตรสนเท่ โรคจิต การถูกกักขังในระยะสั้น การถูกบังคับ ความทุกข์ยาก การเสื่อมเสียชื่อเสียง ปมด้อย ความเป็นความตาย การทะเลาะวิวาท การต้องคดีความที่ยังไม่ได้รับการตัดสิน

------------------------

ภพที่ 7 หรือภพปัตนิ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ กละตระ ชามิตระ กามะ คมะนา ทยูนะ อัสตะ ภวนะ สตรี จิตตะ ซึ่งแต่ละคำรั้วมีความหมายเกี่ยวข้องกับภพที่ 7 ทั้งสิ้น เช่น กละตระ แปลว่าภรรยา กามะ แปลว่าความรัก ความใคร่ คมะนา แปลว่าการเดินทาง เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ ปัตตนิ ซึ่งแปลว่าเมียเก็บ ภรรยา สุภาพสตรี หรือสัตว์ตัวเมียที่เป็นสัตว์ใหญ่
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
ท้องน้อย กระเพาะปัสสาวะ สะดือ คู่ครอง การสมรส ชีวิตสมรส ความสุขทางเพศ ราคะจริต เสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม แฟน ชู้รัก การเข้าสังคม การติดต่อกับเพศตรงข้าม การเล่นการพนัน เล่ห์เหลี่ยมในการเอาชนะศัตรู ความตาย หายนะเกี่ยวกับเพศตรงข้าม การรักสวยรักงาม การหาความสำราญต่างๆ การเอาอกเอาใจ

------------------------

ภพที่ 8 หรือภพมรณะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้ ไนธนะ รันธระ อยุระ รณะ มฤตยุ วินาศะ อัษฏะ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวกับภพที่ 8 ทั้งสิ้น เช่น ไนธนะ แปลว่าความตาย รณะ แปลว่าการต่อสู้ วินาศะ แปลว่าการทำลาย เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ มรณะ ซึ่งแปลว่าความตาย การสิ้นสุด การหมดสิ้น หรือการยกเลิก
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
อวัยวะสืบพันธุ์ โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ อายุขัย อุบัติเหตุ การวิบัติโดยไม่รู้ตัว ศัตรูซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า ศัตรูซึ่งหน้า ศัตรูเปิดเผย การถูกจองจำทำโทษ การถูกศาลพิพากษา การถูกตำหนิติเตียนอย่างเป็นทางการ การถูกว่ากล่าวด้วยการลงชื่อ การพ่ายแพ้ต่อศัตรูอย่างคิดไม่ถึง การตระหนกตกใจ ขวัญหนีดีฝ่อ สติวิปลาส บ้าคลั่ง การถูกจับกุมอย่างกะทันหัน โรคระบาดอย่างร้ายแรง

------------------------

ภพที่ 9 หรือภพศุภะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ นวะ ธรรมะ คุรุ ตโป ภาคยะ ตริตริโกณะฃ ซึ่งแต่ละคำล้วนวมีความหมายเกี่ยวข้องกับพบที่ 9 ทั้งสิ้น เช่น คุรุ แปลว่าผู้ที่ควรยกย่องหรือครูอาจารย์ ภาคยะ แปลว่าอนาคต เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ ศุภะ ซึ่งแปลว่าความสวยงาม สง่างาม สิ่งอันเป็นประโยชน์ ความจริง ฤกษ์งามยามดี
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
ขาอ่อน บิดา ญาติทางฝ่ายบิดา ฐานะของบิดา การเดินทางไกลเพื่อแสวงบุญ การท่องเที่ยวแบบทัศนาจร ความรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์หาเหตุผล ปรัชญา ความสุขทางจิต ความสงบ ความสมถะ ความผาสุก ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี พระเจ้า อาจารย์ผู้คงแก่เรียน คุณธรรม คุณงามความดี เกียรติยศชื่อเสียง ความเมตตากรุณา การให้ทาน การแผ่บารมี การถ่ายทอดวิชาความรู้ การเคารพผู้มีอาวุโส การเลื่อนยศ การเลื่อนตำแหน่ง การได้รับเหรียญตราหรือสายสะพาย ความยุติธรรม การศึกษาขั้นปลาย ปัญญาที่เกิดจากความชำนาญ การใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยแต่ไม่เกินฐานะ

------------------------

ภพที่ 10 หรือภพกรรมะ อาจมีมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ กริยะ คุณะ ฌานะ มานะ มัธยะ เมษูรณะ วยาปาระ ราชาสัปทะ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพบที่ 10 ทั้งสิ้น เช่น กริยะ แปลว่างาน คุณะ แปลว่าคุณประโยชน์ ฌานะ แปลว่าความรู้ เป็นต้น สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ กรรมะ ซึ่งแปลว่าการปฏิบัติ กิจการ หรือหน้าที่ ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเราเรียกว่าภพกัมมะ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
หัวเข่า ความสำเร็จในชีวิต ความสมปรารถนา ความเด่นของเจ้าชะตา ปมเด่น การมีชื่อเสียง ปรากฏในแผ่นดิน อาชีพที่เหมาะสมกับเจ้าชะตา การงาน หน้าที่อันมีเกียรติสูง คำสรรเสริญเยินยอ เป็นทางการ ผู้อุปถัมภ์ค้ำจุน ผู้เกื้อหนุน ความรุ่งเรืองในชีวิต อำนาจในตนเอง การเชื่อตนเอง กำลังใจ ความรู้ทางปรัชญา

------------------------

ภพที่ 11 หรือภพลาภะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้คือ เอกะทศะ อยะ ภวะ อุปาตยะ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพบที่ 10 ทั้งสิ้น เช่น เอกะทศะ แปลว่าสิบหนึ่ง อยะ แปลว่าอะไรได้ อุปาตยะ แปลว่ารองจากที่โหล่ สำหรับชื่อเรียกที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ ลาภะ ซึ่งแปลว่ากำไร สิ่งของที่ได้มา การหา การพบปะ การได้รับความรู้
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
น่อง เพื่อนที่เสเพล ความมัวเมาในสังคม ลาภลอย ทุกขลาภ ความผาสุก ความสบายชั่วขณะ ความหวังที่ฟุ้งซ่าน การสร้างวิมานในอากาศ ความโลก ความปรารถนาในสิ่งที่พ้นวิสัย การถูกหลอกลวง กลอุบายต่างๆ คำสรรเสริญเยินยอที่ไม่เป็นทางการ เงินโบนัส เงินค่านายหน้า

------------------------

ภพที่ 12 หรือภพริผะ อาจมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้ อำตยะภา ทวาทะศกะ โลปะสถานะ วิคมะ วยายะ ซึ่งแต่ละคำล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพบที่ 12 ทั้งสิ้น เช่น อำตยะภา แปลว่าภพสุดท้าย โลปะสถานะ แปลว่าเรือนแห่งความสูญเสีย ทวาะศกะ แปลว่าที่สิบสอง สำหรับชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุดก็คือ วยายะ ซึ่งแปลว่าความหมดเปลือง การทำลาย ความล้มเหลว การเสียสละ หรือการใช้จ่าย ในวิชาโหราศาสตร์ไทยเรียกว่าภพวินาศน์ หรือ วินาศนะ
.
ความหมายที่นิยมใช้กันก็คือ
.
เท้าทั้งสองข้าง การถูกกักขังทางจิตใจ การปลงตก การพ้นทุกข์ การบรรลุนิพพาน การบรรลุโมกษะ การใช้จ่าย ความสิ้นเปลือง ความสูญเสีย กรรมดีกรรมชั่ว นรกสวรรค์ การสะสมทรัพย์ให้ลูกหลาน มรดกตกทอด เกียรติยศชื่อเสียงเมื่อตายไปแล้ว การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินฐานะ

------------------------

เรียบเรียงจาก - หนังสือโหรานภาศาสตร์ ของ พลเรือตรี ประสาน พรหมประวัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น