วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยววิชาโหราศาสตร์ (2)

1. คราวนี้เราย้ายออกไปยืนที่นอกโลก แล้วมองกลับยังโลกของเราๆ จะมองเห็นโลกเป็นลูกกลมๆ แป้นเล็กน้อย (มีรัศมี 6371 กม.)

2. สมมุติว่าเส้นรวิมรรคเป็นเส้นระนาบพื้น เราจะพบว่าโลกของเราวางเอียงเล็กน้อยประมาณ 23.5 องศาเมื่อเทียบกับระนาบของเส้นวงรวิมรรค

3. ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรของโลกจึงเอียง ไม่ได้อยู่ในมุมระนาบเดียวกับเส้นรวิมรรค และถ้าเราขยายแนวเส้นศูนย์สูตรออกไปให้มีขนาดเดียวกับเส้นรวิมรรค เราจะได้เส้นสมมุติที่เรียกว่า "เส้นศูนย์สูตรฟ้า"



4. จุดที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าและรวิมรรควิ่งตัดกันเรียกว่าจุด "วิษุวัต" หรือ อีควินอกซ์ (equinox) ซึ่งจะมีสองจุดด้วยกัน (สองจุดนี้อยู่ตรงข้ามกันพอดี)

5. จุดแรกเรียก "วสันตวิษุวัต" (vernal or spring equinox) อีกจุดเรียก "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox)

6. วันที่เกิดตำแหน่งวิษุวัตทั้งสองนี้จะมีกลางวันและกลางคือเท่ากันพอดี

7. วันที่ดาวอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง วสันตวิษุวัต ถือว่าวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ (จะว่าเป็นวันปีใหม่ของโหราศาสตร์ก็ได้)

8. ส่วนวันที่ดาวอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง ศารทวิษุวัต ถือว่าวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วง

9. ถ้าสมมุติว่า วสันตวิษุวัต อยู่ด้านหน้าของโลกส่วน ศารทวิษุวัต อยู่ด้านหลัง ที่ด้านซ้ายของโลกจะเกิดตำแหน่ง "ศริษมายัน" (summer solstice) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นวง รวิมรรค และ เส้นศูนย์สูตรฟ้า ห้างกันมากที่สุดโดยเส้น รวิมรรค จะอยู่ด้านบน

10. วันที่ดาวอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง ศริษมายัน ถือว่าวันเริ่มต้นของฤดูร้อน

11. ส่วนด้านขวาของโลกจะเกิดตำแหน่ง "เหมายัน" (winter solstice) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นวง รวิมรรค และ เส้นศูนย์สูตรฟ้า ห้างกันมากที่สุดเช่นกัน โดยเส้น รวิมรรค จะอยู่ด้านล่าง

12. วันที่ดาวอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง เหมายัน ถือว่าวันเริ่มต้นของฤดูหนาว

13. เรื่องฤดูกาลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ฤดูกาลของท้องถิ่น (เช่นประเทศไทยไม่มีฤดูหนาว มีแต่ฤดูร้อนมากกับร้อนน้อย) แต่เป็นฤดูกาลของโลก ซึ่งบอกถึงตำแหน่งและระยะทางที่โลกกับดวงอาทิตย์มีต่อกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น