วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

จักรราศี (ในโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน)

คำว่าจักรราศีในทางโหราศาสตร์หมายถึงท้องฟ้าหรืออวกาศสมมุติในระนาบ 2 มิติ โดยจักรราศีจะถูกเขียนขึ้นมารูปของวงกลม จุดศูนย์กลางของวงกลมคือจุดสมมุติว่าเป็นตำแหน่งที่เรายืนสังเกตดวงดาว
จากนั้นก็จะทำการวงกลมของจักรราศรออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนมีระยะ 30 องศา (ซึ่ง 1 องศาแตกออกเป็น 60 ลิปดา) โดยเรียกแต่ละส่วนว่า “ราศี” แล้วกำหนดชื่อให้กับแต่ละราศีว่า




• เมษ (Aries)
• พฤษภ (Taurus)
• มิถุน (Gemini)
• กรกฏ (Cancer)
• สิงห์ (Leo)
• กันย์ (Virgo)
• ตุล (Libra)
• พิจิก (Scorpio)
• ธนู (Sagittarius)
• มกร (Capricorn)
• กุมภ์ (Aquarius)
• มีน (Pisces)

ในหลักพื้นฐานของวิชาโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน ราศีทั้ง 12 นี้มีหน้าที่เพียงแค่บอกตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้าเท่านั้น ไม่ได้มีผลหรืออิธิพล (ในแง่ของความเป็นเรือนชะตาอย่างโหราศาสตร์ระบบทั่วไป) อะไรที่มากไปกว่านั้น

การนำเอาสัญลักษณ์ของดวงดาวต่างๆ จัดวางเรียงไปบนวงกลมจักรราศีตามตำแหน่งที่อ้างอิง (ที่ได้มาจากปฏิทินของดวงดาว) เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการผูกดวง(สมผุสดาว)

เช่นในวันที่ 26/2/2558 เวลา 12.00 ดวงดาวและปัจจัยต่างๆ ถูกคำนวนออกมาอยู่ในตำแหน่งดังตารางต่อไปนี้



เมื่อนำมาสมผุสดาวลงในวงจักรราศีก็จะได้ดังนี้



สำหรับแต่ละราศีจะมีตำแหน่งเริ่มต้นในท้องฟ้าดังนี้

• เมษ (Aries) 0 องศา
• พฤษภ (Taurus) 30 องศา
• มิถุน (Gemini) 60 องศา
• กรกฏ (Cancer) 90 องศา
• สิงห์ (Leo) 120 องศา
• กันย์ (Virgo) 150 องศา
• ตุล (Libra) 180 องศา
• พิจิก (Scorpio) 210 องศา
• ธนู (Sagittarius) 240 องศา
• มกร (Capricorn) 270 องศา
• กุมภ์ (Aquarius) 300 องศา
• มีน (Pisces) 330 องศา

ตำแหน่งเริ่มต้นนี้จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อเรามีความจำเป็นต้องแปลงค่าตำแหน่งของดวงดาวหรือปัจจัยที่อ้างอิงจากตำแหน่งราศีให้กลายเป็นหน่วย องศา ลิปดา

ตัวอย่างเช่น ดาวอาทิตย์ในราศีธนู 15 องศา เมื่อเราแปลตำแหน่งนี้ให้เป็นองศาบนท้องฟ้าเราจะเอาค่าเริ่มต้นของราศีนั้นๆ เป็นตัวตั้ง เช่นในที่นี้คือ 240 องศาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นราศีธนู จากนั้นก็บวกเข้าไปด้วยองศา ลิปดาที่เป็นเศษต่อท้าย ในที่นี้คืออีก 15 องศา เราก็จะได้ตำแหน่งว่า ดาวอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง 255 องศาบนท้องฟ้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น