เส้นระวิมรรคเป็นเส้นทางที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่านโลกไปในแต่ละวัน(เมื่อสังเกตจากโลก) ในทางตรงกันข้ามเส้นระวิมรรคจึงเป็นเส้นวิถีที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
การแบ่งเส้นระวิมรรคออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่าราศีนั้น จุดเริ่มต้นมาจากการแบ่งท้องฟ้ากเป็น4ส่วนตามจุดตัดสำคัญที่ดวงอาทิตย์ส่งผลโดยตรงต่อโลก ประกอบไปด้วย
1. จุดลัคนา หรือจุดที่พระอาทิตย์พ้นขอบฟ้า เป็นจุดเริ่มต้นของวันไหม่ จุดเริ่มต้นของทุกๆ สรรพสิ่ง หากดวงอาทิตย์ไม่โคจรมตัดที่จุดนี้ สรรพสิ่งบนโลกก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้
2. จุดมิดเฮเวน หรือจุดที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก(ณ.จุดสังเกต) ตำแหน่งนี้รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโกจะรุนแรงที่สุด
3. จุดตรงข้ามลัคนา คือจุดตัดที่อาทิตย์กำลังจะพ้นขอบฟ้าไป
4. จุดตรงข้ามมิเเฮเวน คือจุดที่อยู่ตรงข้ามกับมิดเฮเวน เป็นช่วงเวลาที่มืดที่สุด รังสีจากดวงอาทิตย์มายังพื้นโลกน้อยที่สุด
ดังนั้นโดยแท้จริงแล้วจึงมีเพียง 4 จักรราศีเท่านั้น และเรือนชะตา(ตำแหน่งที่ฟ้ามีอิธิพลต่อคน)ก็เริ่มจาก 4 เรือนเป็นประถมเช่นกัน คือ
1. ตำแหน่งที่หนึ่งจึงเป็นตัวแทนของอัตตาคือ "ตัวฉัน" ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งหมด (หมดตัวฉันไปทุกสรรพสิ่งในห้วงการการรับรู้ของฉันก็จบสิ้น)
2. ตำแหน่งที่สองจึงเป็นตัวแทนของเกียรติยศ จุดสูงสุด ทรงอำนาจสุดของชีวิต(เปรียบกับเที่ยงวัน)
3. ตำแหน่งที่สามจึงเป็นตัวแทนของ "ตัวเธอ" (ตรงข้ามกับตัวฉัน) ซึ่งหมายผู้คนที่อยู่รายล้อม
4. ตำแหน่งที่สี่จึงเป็นตัวแทนของความเงียบสงัด ความน่ากลัวในยามเที่ยงคือ จำเป็นที่มนุษย์ย่อมต้องการความปกป้องจากบิดามารดาและบ้านเรือน เรือนนี้จังเป็นเรื่องของบิดามารดา ญาติสนิทและบ้านเรือน
ต่อมาก็มีการแบ่งราศีจากเดิมที่มีเพียง 4 ออกเป็น 12 ส่วน โดยแต่ละส่วนถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย
หมายถึงสภาพการเกิดขึ้น(และเคลื่อนที่ไปข้างหน้า) มั่งคงอยู่ และจากไป(แปลไปเป็นราศีต่อไป) จึงกลายเป็นเป็นวงจร
เกิดขึ้น > มั่นคง > เปลี่ยนแปลง > เกิดขึ้น > มั่นคง > เปลี่ยนแปลง > เกิดขึ้น > มั่นคง > เปลี่ยนแปลง >
จนกลายเป็นครบ 12 ราศี โดยใช้กลุ่มดาวที่ประจำอยู่ที่พื้นที่ทั้ง 12 ส่วนนั้นมาเรียกขานกันเป็น เมษ พฤษภ ... เรื่อยไปจนครบ 12 ราศีดังที่เป็นที่คุ้นเคยกันในทุกวันนี้
การกำหนดความหมายให้กับแต่ละราศี ก็ใช้วงจร เกิดขึ้น > มั่นคง > เปลี่ยนแปลง นี้มาเป็นมูลฐานในการกำหนดความหมาย และในส่วนของเรือนชะตาก็ได้ถูกแบ่งออกเป็น 12 ส่วนด้วยเช่นกันโดยยึดเอาปรัชญาทวินิยม(หยิน-หยาง)มาเป็นตัวกำหนดความหมายของเรือนทั้ง 12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น