วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยววิชาโหราศาสตร์ (1)

1. วิชาโหราศาสตร์หมายถึงวิชาการทำนายที่ว่าด้วยเรื่องของตำแหน่งดวงดาว หรือพิกัดบนท้องฟ้าที่เชื่อกันว่าส่งผลมากระทำบางอย่างกับผู้คนบนโลก

2. สำนักโหราศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าดวงดาวหรือปัจจัยบนท้องฟ้าส่งผลมายังโลก ทำให้โลกเกิดเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ส่วนบางสำนักเชื่อว่าดวงดาวหรือปัจจัยนั้นส่งผลมายังจิตใจหรือบุคลิกของคน จากนั้นคนจึงทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น

3. ทุกสำนักโหราศาสตร์ใช้โลกเป็นจุดศูนย์กลางเสมอ แม้ทุกวันนี้เราจะประจักษ์แจ้งแล้วว่าโลกไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล

4. เหตุที่ใช้โลกเป็นศูนย์กลางด้วยเหตุผลว่าโหราศาสตร์นั้นว่าด้วยเรื่องของอิธิพลจากดวงดาวต่างๆ ที่จะส่งมายังโลก ดังนั้นจึงใช้โลกเป็นจุดเริ่มต้นในการสังเกตตำแหน่งต่างๆ



5. ถ้าเรายืนบนที่โล่งๆ โดยหันหน้าไปยังทิศตะวันออกพอดิบพอดี ซ้ายมือของเราจะเป็นทิศเหนือ ขวามือจะเป็นทิศใต้ ส่วนข้างหลังคือทิศตะวันตก เส้นตรงที่สุดสายเมื่อเรามองไปรอบๆ เรียกว่า "เส้นขอบฟ้า"

6. หากเราวาดเส้นโค้งเป็นวงขึ้นไปฟ้าจากสุดขอบฟ้าทางด้านเหนือ แล้วไปจบลงที่สุดขอบฟ้าด้านตะวันตก โดยให้แนวเส้นครึ่งวงกลมนี้ตั้งฉากกับพื้นโลกพอดี เราจะได้แนวเส้น(ระนาบ) "เมอริเดียน"

7. ตำแหน่งตรงหัวเราพอดี (คือลากเส้นตรงพุ่งขึ้นไปบนฟ้าจนไปชนกับแนวเส้นโค้งเมริเดียน) เรียกเรียกว่า "เซนิท" ส่วนตำแหน่งตรงข้ามที่ทะลุลงไปในดินตรงใต้เท้าของเราเรียกว่า "เนเดอร์"

8. เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นตัดกับขอบฟ้า(ระยะสุดสายตา)เบื้องหน้าของเรา เราเรียกจุดตัดระหว่างดวงอาทิตย์กับเส้นขอบฟ้านั้นว่า จุด "ลัคนา" หรือ เอสเซนเดนท์

9. เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าแล้ว ก็จะโคจรเป็นเส้นวงโค้งขึ้นไปจนในที่สุดก็วิ่งหายพ้นขอบฟ้าทางด้านตะวันตก(คือด้านหลังของเรา) เส้นทางที่พระอาทิตย์วิ่งนี้เรียกว่า "รวิมรรค" หรือ สุริยวิถี

10. แต่เนื่องจากแกนโลกนั้นเอียงเล็กน้อย ประมาณ 23.5 องศา (เมื่อเทียบกับเส้นโคจรรอบดวงอาทิตย์) ดังนั้นเส้นรวิมวรรคจึงไม่ได้ตั้งฉากกับพื้น แต่จะเอียงเล็กน้อยหากเล็งเทียบกับเส้นแกน เซนิท/เนเดอร์

11. ตำแหน่งเที่ยงวันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของวงโคจรเรียกว่าตำแหน่ง "มิดเฮเวนท์" หรือ กึ่งกลางสวรรค์

12. พระอาทิตย์โคจรไปตามแนวรวิมรรค 1 รอบใช้เวลา 24 ชม. หรือคิดเป็น 4 นาทีต่อ 1 องศา (วัดองศาจากตำแหน่งที่เรายืนอยู่)

ทั้งหมดนี้คือว่าด้วยเรื่องของการสังเกตจากพื้นโลก โดยใช้ตำแหน่งที่เรายืนอยู่เป็นตำแหน่งสังเกตการณ์ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น