วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ว่าด้วยเรื่องดวงจีน



ในสมัยก่อนราชวงศ์ซ้อง 1000 ปีนั้น วิชาโหราศาสตร์จีนนิยมใช้ระบบจักราศีและระบบอี้เก็ง (อี้จิง) ควบคู่กันไปอยู่เสมอ
.
แต่ในปลายสมัยซ้องได้เกิดความแตกแยกของนักโหราศาสตร์ออกเป็น 2 สำนักใหญ่



คือสำนักโหราศาสตร์สถาบันหนึ่งนิยมใช้จักรราศีดวงดาวร่วมกับระบบอี้เก็งมาทำนายดวงชะตา แต่อีกสำนักหนึ่งใช้ระบบอี้เก็งมาปรับพื้นดวงชะตา โดยใช้ฐานปีเกิด เดือนเกิด วันเกิด และเวลาเกิด (ซึ่งก็คือวิชา “โป้ยยี่” หรือ “สี่เถียว” นั่นเอง) มาทำนายดวงชะตาเพียงอย่างเดียว
.
โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาคำนวณดาวบนท้องฟ้าให้ยุ่งยากก่อนจะทำนายดวงชะตาแต่ละคน และผลพยากรณ์นั้นไม่แตกต่างจากระบบจักรราศี หรือราศีจักรนัก ผลการพยากรณ์ถือว่าแม่นยำด้วยเหมือนกัน
.
ในสมัยราชวงศ์ซ้องนั้น ระบบโหราศาสตร์ 2 สำนัก ได้มีเรื่องราวกระทบกระทั่งกันอยู่เสมอ มีการท้าประลองกันอยู่เสมอว่าสำนักของใครจะแม่นยำกว่ากัน การท้าประลองมีอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง เมื่อ 300 กว่าปีก่อน ระบบโหราศาสตร์แบบราศีจับจีนได้เสริมความนิยมไปในที่สุด
.
จนปัจจุบันในประเทศจีน ไม่ว่าผืนแผ่นดินจีนใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง เกือบจะพูดได้ว่าไม่มีใครรู้เรื่องระบบโหราศาสตร์ระบบจักราศีเลย
.
แต่ในราชวงศ์หรือในวังนั้น นักโหราศาสตร์เหล่านั้นได้ใช้ระบบโหราศาสตร์แบบจักราศีควบคู่กับโหราศาสตร์แบบใช้ฐานปีเกิด เดือนเกิด วันเกิด และเวลาเกิดนี้ ในการทำนายดวงชะตาเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน บุคคลสำคัญต่างๆของประเทศ
.
พอหมดราชวงศ์ชิง พวกโหรเหล่านั้นได้สาบสูญไปจนหมดสิ้น
.
ระบบโหราศาสตร์แบบที่ใช้ ฐานปี ฐานเดือน ฐานวัน ฐานเวลา นี้นักโหราศาสตร์เรียกว่า “ระบบโป๊ยยี่” ( 8 อักษร หรือ 8 ตัวเลข) หรือ “สี่เถียว” (ฐาน 4 ฐาน) เป็นระบบโหราศาสตร์จีนที่นิยมกันมากที่สุดของหมู่คนจีนโดยทั่วไป เพราะเป็นระบบวิชาหนึ่งของโหราศาสตร์จีนที่มีความแม่นยำมากดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้นเอง

จากหนังสือ “ผูกดวงจีน” วิวัฒน์ จารึกสิริ เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น