วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วันคริสต์มาส



ช่วงสิ้นปีแบบนี้การออกไปเดินชมไฟซึ่งได้ประดับประดาเอาไว้อย่างสวยงามเพื่อต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส นับว่าเป็นความสุขประการหนึ่งที่สามารถหาใส่ตัวได้ไม่ยากไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาใดหรือไม่ก็ตาม 
.
#ความสุขไม่มีขีดแบ่งกั้นทางศาสนา


ภรรยาของผมซึ่งเป็นคริสตศาสนิกชนนิกายโปรแตสแตนท์มักพูดอยู่เป็นประจำว่า “พระเยซูไม่ได้ประสูติในวันคริสต์มาส”
.
หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่มีการเขียนเอาไว้ตรงหน้าไหนของไบเบิ้ลว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม
.
มีเพียงบรรยายไว้ว่าพระองค์ประสูติในคืนที่มีดวงดาวสุกสว่างบนท้องฟ้าโดยมีโหราจารย์จากแดนตะวันออก 3 คนติดตามดวงดาวมาจนกระทั่งถึงกระท่อมที่ประสูติ และได้มอบเครื่องสักการะ 3 ประการ (ทองคำ กำยาน และมดยอบ) แด่พระกุมาร
.
แล้วเรื่องที่ว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคมนั้นมาจากไหน?
.
ความจริงแล้ววันที่ 25 ธันวาคมในสมัยนั้นก็คือวัน “เหมายัน” (winter solstice) หรือดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่ประตูราศีมังกรตามคติของโหราศาสตร์ระบบสายนะ
.
ย้อนกลับไปในยุคที่ศาสนาคริสต์ซึ่งเริ่มเผยแพร่กันนั้น ชาวโรมันได้ถือว่าวันที่ 25 ธันวาคมนี้เป็นวันสำคัญในการเฉลิมฉลองการประสูติของสุริยเทพ (เพราะวันเหมายันหรืออาทิตย์โคจรเข้าสู่ประตูมังกรถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติของโหราศาสตร์สากล ถือเป็นจุดเริ่มต้นวัฏจักรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี)
.
โดยมีชื่อเรียกว่าเทศกาล “บรูม่า” (Bruma) ตามลัทธิโบราณที่มีชื่อว่า Sol Invictus ซึ่งเป็นที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น
.
แต่ต่อมาเมื่อคริสตศาสนาเข้าไปเผยแผ่และมีอิทธิพลอยู่ในจักรวรรดิโรมันจึงทำให้เกิดกระบวนการในการกลืนศาสนาขึ้น
.
โดยยึดเอาเทศกาลเฉลิมฉลองบรูม่ามาเป็นวันประสูติของพระเยซูแทน โดยแต่งตำนานซ้อนทับลงไปว่าพระเยซูทรงประสูติในวันประสูติแห่งสุริยเทพ (หรือเป็นการบอกอ้อมๆ ว่าพระเยซูนี่แหละก็คือองค์สุริยะเทพของพวกท่าน)
.
ปรากฏว่ากระบวนการง่ายๆ นี้ได้ผล เพราะเทศกาลเฉลิมฉลองสุริยเทพค่อยๆ เสื่อมลงตามกาลเวลา ในขณะที่ศาสนาคริสต์ก็ค่อยๆ เฟื่องฟูขึ้น
.
และเรื่องที่ว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคมก็ใช้ต่อกันมาตั้งแต่สมัยนั้นจนมาถึงปัจจุบันนี
.
สำหรับเรื่องการถือว่าวันที่ 25 ธันวาคมคือวันเหมายันนี้ ขอให้สังเกตว่าทุกวันนี้วันเหมายันไม่ใช่วันที่ 25 ธันวาคม หากแต่เป็นวันที่ 22 ธันวาคม
.
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น?
.
เหตุผลก็เพราะว่าเวลาซึ่งเกิดปรากฏการเหมายันนั้นค่อยๆ เร็วขึ้นทุกปีตามค่าอายนางศ์ (ค่าความแตกต่างของจุด 0 องศาราศีเมษระหว่างโหราศาสตร์ระบบนิรายนะและสายยะนะ) ที่สะสมเพิ่มขึ้น
.
สมัยโน้นคือวันที่ 25 ตอนนี้คือวันที่ 22 และในอนาคตหากผ่านไปอีกเป็นร้อยเป็นพันปีเลขวันนี้ก็จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติของจักราศีระบบเคลื่อนที่นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น