วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

A/B and A+B-C

ศูนย์รังสี (Halfsum) หมายถึงจุดหรือตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างดาว 2 ดวง

ถ้าเขียนเป็นสูตร ก็จะเขียนได้ว่า (A+B)/2

โดย A และ B ก็คือค่าจำนวณองศาของดาวแต่ละดวง

เช่นดาว A อยู่ในตำแหน่ง 100 องศา (วัดจากจุดเริ่มต้นคือ 0 องศาราศีเมษ) ส่วนดาว B อยู่ตำแหน่ง 200 องศา

เพราะฉะนั้นจุดศูนย์รังสีของ A และ B ก็คือตำแหน่ง 150 องศา

มาจาก (100+200)/2 ตามค่าในตัวอย่าง

แต่ครั้นจะเขียนเป็น (A+B)/2 ก็แลดูรกรุงรังชมัด ในทางปฏิบัติจริงจึงย่นย่อเหลือ A/B พอ โดยเป็นที่รู้กันว่าไอ้เจ้า / ตรงกลางนั้นแทนตำแหน่งกึ่งกลางพอดีระหว่างปัจจัยทั้ง 2

ความหมายของ A/B ก็คือเอาความหมายของ A และ B มาผสมกัน

คราวนี้ก็ยังสิ่งที่เรียกว่า จุดไหวตัว หรือ จุดอิทธิพล ก็แล้วแต่จะเรียก เป็นการเอาดาว 3 ดวงมาผสมกัน มักจะเขียนในรูปสมการ A+B-C

ความจริง A+B ในสมการ A+B-C นั้นก็คือตำแหน่งของจุดศูนย์รังสีของ A และ B

คือเป็น (A+B)/2 ไม่ใช่ A+B เฉยๆ

(100+200)/2 กับ 100+200 เฉยๆ นี่คนล่ะตำแหน่งกันเลย

แต่เพื่อความสะดวก ย่นย่อก็เขียนเป็น A+B ก็พอจะเข้าใจกันในหมู่นักยูเรเนี่ยน โดยที่ไม่ยักกะเขียนว่า A/B-C ด้วย

ส่วน -C คือตำแหน่งของดาวอีกดวงหนึ่ง(ดวงที่ 3) ที่เอาไปสะท้อน โดยใช้ศูนย์รังสีของ A และ B เป็นแกนสะท้อน

คำว่าแกนสะท้อนในที่นี้หมายถึงใช้จุดเริ่มต้น

เริ่มต้นอะไร? ก็คือเริ่มต้นวิ่งถอยหลัง การวิ่งถอยหลังนี่คือการสะท้อน

คือเอาศูนย์รังสีของ A และ B เป็นจุดเริ่มต้นนับ 0

จากนี้ก็วัดไปหาดาว C ว่าได้กี่องศา

ไม่ว่าจะกี่องศาก็ตาม ก็ให้วัดย้อนไปอีกทางด้วยจำนวณองศาที่เท่ากัน เราก็จะได้ตำแหน่งของจุดไหวตัว A+B-C

เช่นวัดจากศูนย์รังสีของ A และ B ไปยังดาว C ได้ 100 องศา

เพราะฉะนั้นที่ตำแหน่ง -100 องศาที่เริ่มวัดจากดาวศูนย์รังสีของ A และ B นั่นแหละคือตำแหน่งของ A+B-C

โดยความหมายของ A+B-C ก็คือการผสมกันของความหมาย A B และ C เข้าด้วยกัน

โดยอาจจะแปลคู่ A+B เสียก่อน แล้วค่อยเอาความหมายของ C เข้าไปขยายอีกที

อะไรประมาณนี้ ..... ไม่งงนะ

😎

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น