วันนี้ (20/03/2564) วัน "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox) เป็นตำแหน่งเช็คพอยท์ที่สำคัญวันหนึ่งของโหราศาสตร์ เพราะเป็นวันที่อาทิตย์ยกเข้าราศีเมษตามปฏิทินระบบสากล(สายนะ) โดยกลางวันกับกลางคือของวันนี้มีเวลาเท่ากันพอดีเป๊ะ
ถือว่าวันนี้เป็นจึดเริ่มต้นของฤดูใบไม่ผลิ
เคยมีคนถามว่าทำไมจึงเรียกว่าจึงตั้งชื่อว่า "วสันต" เพราะอย่างที่เราคุ้นเคยกันว่า วสันต์ มันแปลว่าฝน?
เรื่องนี้สรุปง่ายๆ ว่าเกิดจากความสับสน
คือการแบ่งฤดูในแต่ปีของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิอากาศท้องถิ่น ก็อาจแบ่งเป็น ๒ ฤดู ๓ ฤดู ๔ ฤดู หรือ ๖ ฤดู ก็ได้ตามเหมาะสม
สำหรับฤดูกาลสากล หรือฤดูกาลของโลกนั้นท่านแบ่งออกเป็น 4 ฤดูคือ
- ฤดูหนาว (เหมันตฤดู)
- ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตฤดู)
- ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู)
- และฤดูใบไม้ร่วง (สารทฤดู)
คำว่า วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ก็คือมาจากคำว่า วสันตฤดู นี้เอง
สำหรับประเทศไทย เราแบ่งฤดูออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว (หรืออาจจะแบ่งเป็น ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนชิบหาย ก็ได้แล้วแต่เหมาะสม)
หากเรียกชื่อฤดูเหล่านี้ด้วยคำบาลีสันสกฤต ก็จะเรียกได้ว่า
- คิมหันตฤดู (อ่านว่า คิม-หัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูร้อน
- เหมันตฤดู (อ่านว่า เห-มัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูหนาว
- วัสสาน (อ่านว่า วัด-สา-นะ) คือ ฤดูฝน
ดังนั้นถ้าจะเรียกฤดูฝนให้ถูกตามรูปศัพท์ ท่านว่าต้องใช้ว่า วัสสานฤดู (อ่านว่า วัด-สา-นะ-รึ-ดู)
แต่เราก็ทั้งเรียกทั้งเขียนว่า วสันตฤดู (หรือ วสันต์ แปลว่าฝน) กันจนชินปาก
ดูนักร้องขวัญใจจิ๋กโก๋โบราณอย่างพี่น้อง อัสนี-วสันต์ ก็ได้ ชื่อนั้นท่านว่าคนหนึ่งสายฟ้าคนหนึ่งสายฝน ก็คือความเข้าใจผิดของคนสมัยก่อน เนิร์ดๆหน่อยซีเรียสต้องเขียนว่า วัสสาน ถึงจะถูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น