ในวิชาโหราศาสตร์ มีการกำหนดให้ดาวแต่ละดวงมีความหมายเช่นเดียวกับภพเรือนต่างๆ เช่นให้ดาวศุกร์เป็นตัวแทนของเรือน 7 (คู่ครอง) พฤหัสเป็นตัวแทนของเรือน 9 (ความดีงาม) หรือดาวอังคารเป็นตัวแทนของเรือน 6 (อริ) เป็นต้น
(รายละเอียดในเรื่องนี้อาจแตกต่างออกไปตามแต่วินิจฉัยของแต่ละสำนัก)
ในวิชาโหราศาสตร์อินเดียเรียกว่าการกะ ส่วนตำราอาจารย์พลูหลวงเรียกว่าดาวโลกธรรม
ในวิชาโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนนั้นกำหนดให้ดาวแต่ละดวงมีความของมันโดยตรง โดยไม่ต้องไปอ้างอิงกับภพหรือเรือนอีก ลักษณะอย่างนี้ก็ทำให้การกำหนดความหมายให้กับดาวแต่ละดวง(หรือปัจจัยโหราศาสตร์อื่น)เป็นไปโดยสะดวก คล่องตัว และเป็นเอกเทศน์โดยไม่ต้องเสียเวลามาอ้างอิงกับเรื่องภพเรือนอีก
ไม่ว่าจะโดยหลักการใดก็ตาม การกำหนดให้ดาวแต่ละดวงมีความประจำตัวนั้น ช่วงทำให้เกิดช่องทางในการสร้างคำพยากรณ์ได้มากยิ่งขึ้น โดยการเอาความหมายของดาวหรือปัจจัยเหล่านั้นมาผสมกันเป็นคำพยากรณ์ได้ในทันทีหากอยู่ในเงื่อนไขที่ปัจจัยหรือดาวเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ถึงกันได้ (เช่นอยู่เรือนพื้นที่เดียวกัน หรือทำมุมสัมพันธ์ถึงกัน) โดยที่ไม่ต้องไปสนใจเลยว่าจะอยู่เรือนอะไร (ยูเรเนี่ยนพระเคราะห์สนธิ)
เช่นเมื่อเห็นดาวศุกร์อยู่ร่วมราศีกับดาวเสาร์ (สำหรับดวงราศีจักร) เราอาจจะก็ออกคำพยากรณ์ไปได้ในทันทีว่าเจ้าชะตานี้ทุกข์หรือต้องพลัดพราก(เสาร์)เรื่องความรัก(ศุกร์) หรือมีความรัก(ศุกร์)ตอนแก่(เสาร์) หรืออาจทายว่ารัก(ศุกร์)คนแก่(เสาร์)ก็ย่อมได้
นี่ก็คือการเอาความหมายของดาวมาใช้ผสมกัน โดยเรายังสามารถเอาคุณสมบัติในเรื่องของภพเรือน ดาวเจ้าเรือน ดาวทำมุม หรืออื่นๆ เข้ามาเป็นส่วนขยายให้กับพยากรณ์ได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น