วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

องคลาภ (Part of Fortune)

จุด "องคลาภ" (Part of Fortune) โดยทั่วไปก็มีอยู่ด้วยกัน 2 สูตรนะครับ คือ SU+AS-MO สำหรับคนเกิดกลางคืน และ AS+MO-SU สำหรับคนเกิดกลางวัน

สังเกตว่าใช้วัตถุดิบชุดเดียวกันแต่ต่างกันตรงที่วิธีการปรุงเท่านั้น

ความหมายโดยทั่วไปขององคลาภก็คือ "โชคช่วย" คือใครอยากรู้ว่าโชคดีของตัวเองอยู่ตรงใหน ทำอะไรแล้วจะมีโชคดีช่วยก็ให้พิจารนาในดวงชะตากำเนิดว่าจุดองคลาภนี้อยู่เรือนไหน มีดาวอะไรมาทำมุม ก็สามารถเอามาตีความหมายสร้างเป็นคำพยากรณ์ขึ้นมาได้

มีอาจารย์บางท่านเคยให้ความเห็นว่า จุดองคลาภนี้ที่จริงเป็นการรวมพลังกันของจุดเจ้าชะตาถึง 3 จุด ดังนั้นความหมายในทางมนุษย์นิยมขององคลาภก็คือความถนัด หรือพรสวรรค์ ของแต่ละคนนั่นเอง

ความถนัดอยู่ที่ไหน หากรู้จักเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ย่อมก่อให้เกิดโชค หรือก็คือความสุขความเจริญ

:)

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ดวงโปรเกรส


คำว่า “โปรเกรส” (Progress) นั้นแปลกันตรงๆ ว่า ความคืบหน้า ความเจริญ หรือความก้าวหน้า ดังนั้น “ดวงโปรเกรส” ก็คือดวงชะตากำเนิดที่มีความคืบหน้า ก้าวหน้าไปตามอายุขัยของเจ้าชะตา

สรุปก็คือดวงกำเนิดนั่นแหละ แต่เอามาผ่านกรรมวิธีอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการพยากรณ์ โดยเฉพาะการพยากรณ์ตามอายุไข

ความจริงมันมีวิธีการโปรเกรสดวงได้หลายวิธีการ ดวงโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc) ที่นิยมใช้ในแวดวงนักโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนนั่นก็คือการโปรเกรสดวงแบบหนึ่ง (หมุนดวงกำเนิดไปประมาณ 1 องศาต่ออายุขัย 1 ปี)

ส่วนในแวดวงนักโหราศาสตร์สากลนั้น โดยมากจะใช้วิธีการโปรเกรสดวงแบบที่เรียกว่า Secondary Progressions

คำว่า Secondary นั้นแปลว่า “รอง” หรือ “สำรอง” หรือ “ตัวเลือกสำดับที่2” นั่นก็เพราะว่าก่อนหน้าที่จะมีการโปรเกรสดวงแบบนี้มันเคยวิธีการที่เรียกว่า Primary Progressions มาก่อน แต่เป็นวิธีการที่ยุ่งยากและนิยมกันว่าไม่ค่อยได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจนัก เลยมาจบลงที่การใช้ Secondary Progressions เป็นวิธีการหลักแทน ซึ่งก็ใช้กันจนมาถึงทุกวันนี้

หลักการโปรเกรสดวงแบบ Secondary Progressions นั้น อาศัยหลักการเทียบอายุขัย 1 ปีเท่ากับวันจร 1 วัน

คือใครมีอายุขัยปัจจุบันเท่าไหร่ ก็แปลงอายุเป็นวัน แล้วบวกเพิ่มเข้าไปในดวงกำเนิดก็จะได้ดวง Secondary Progressions ขึ้นมา

เช่นคนเกิดวันที่ 1 เมษายน 2520 ถ้าเขามีอายุ 15 ปีเต็ม ก็จะเอา 15 วัน(แปลงปีเป็นวัน)บวกเพิ่มเข้าไป ก็คือวันที่ 16 เมษายน 2520 ก็จะตำแหน่งดาวของวันที่ 16 เมษานี้แหละมาเป็นดวงชะตา Secondary Progressions โดยใช้สำหรับอ่านเรื่องราวในชีวิตของเจ้าชะตาเมื่อเขามีอายุขัย 15 ปี 

ในกรณีที่อายุขัยมีเศษเดือนวัน ก็จะต้องมีการคำนวณเพื่อทอนเวลาส่วนเกินนั้นเป็นชั่วโมงนาที ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก โดยมักจึงมักคำนวณ Secondary Progressions จากอายุเต็ม แต่พอมาถึงสมัยนี้ใช้โปรแกรมช่วยคำนวณดวงชะตา กระบวนการพวกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป 

สำหรับการอ่านดวง Secondary Progressions นั้นจะใช้วิธีการอ่านโดยเทียบกับดวงกำเนิด

แต่ดวงชะตาแบบ Secondary Progressions ก็ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของมัน นั่นก็คือบรรดาดาวเดินช้าต่างๆ จะขยับน้อยมากโดยเฉพาะในช่วงอายุน้อยๆ จะมีก็แต่ดาวเดินเร็วเท่านั้นที่ให้ผลความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

เช่นในภาพตัวอย่างนี้ เป็นดวงชะตาแบบจาน 360 องศา โดยวงด้านใน(สีฟ้า)เป็นดวงกำเนิด ในขณะที่วงด้านนอก(สีชมพู)เป็นดวง Secondary Progressions

จากภาพนี้เจ้าชะตาอายุขัย 22 ปี 11 เดือน โปรแกรมก็คำนวณวันจรสำหรับผูกเป็นดวง Secondary Progressions โดยเพิ่มเข้าไปอีก 23 วันกว่าๆ 

ก็จะเห็นว่ามีดาวย้ายตำแหน่งไม่มากนัก โดยมากมันเป็นดาวเดินเร็ว เช่นดวงจันทร์ ศุกร์ หรืออังคาร ส่วนดาวอื่นๆ โดยเฉพาะดาวเดินช้าทั้งหลาย(ตั้งแต่พฤหัสออกไป)จรเคลื่อนตำแหน่งไปน้อยมาก (ยิ่งดาวทรานเนปจูนนั้นไม่ต้องพูดถึงเลย)

อะไรแบบนี้คงทำให้นักโหราศาสตร์รุ่นหลังๆ มารู้สึกอึดอัดใจได้พอสมควร เพราะไม่ค่อยสอดคล้องกับชีวิตคนสมัยใหม่ที่รอบเร็ว ไปเร็ว มาเร็ว ก็คงเป็นเหตุผลสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้สำนักยูเรเนี่ยนพัฒนาระบบโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc) เข้ามาแทนที่


:)


วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ครบรอบอายุขัย

คนเราเวลาอายุประมาณ 44-46 ปี โค้งอายุขัยจะครบรอบในจาน 45 องศา (หรือครึ่งรอบในจาน 90) 

มันเป็นช่วงเวลาที่ดาวจรโค้งกลับมาตรงกับดาวในดวงกำเนิด (ในจาน 45) 

จึงอุปมาเหมือนดั่งย้อนกลับไปเป็นทารกเกิดใหม่


เกิดใหม่รอบนี้ .... ลองมองย้อนกลับไป 

มีอะไรที่เคยผิดพลาดไปแล้วยากแก้ไขให้ดีกว่าเดิมบ้างมั๊ย?


หรือถ้ามองในแง่ของจาน 90 องศา ... นี่ก็ครึ่งอายุขัยเข้าไปแล้ว 

ยังมีอะไรที่อยากทำ หรือต้องทำ แล้วยังไม่ได้ลงมือทำอีกหรือไม่?

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

1องศาเท่ากับอายุขัย1ปี


กฏการเปรียบเทียบ "1องศาเท่ากับอายุขัย1ปี" นั้นเป็นอะไรที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าใจกันได้ไม่ยาก

อายุขัยทุกๆ 1 ปี จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าค่าโค้งสุริยยาตร์ประมาณ 1 องศา ค่าโค้งฯที่ว่านี้จะผลักดันให้ดาวดวงชะตากำเนิดจรเคลื่อนที่ตามไป เกิดเป็นดวงโค้งฯซึ่งก็คือดวงกำเนิดที่จรเคลื่อนที่ไปประมาณ 1 องศา

ดาวA ห่างจากดาวB กี่องศา วัดแล้วแปลงเทียบเป็นปีโดยประมาณได้เลยไม่ยุ่งยากอะไร (แม้จะยังไม่ละเอียดแม่นยำนักแต่ถือว่าใช้งานได้)

เช่นดวงชะตานี้ ดวงชะตาเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) จามประวัติว่าอายุประมาณ 20-22 ก็เกิดไต่เต้าทางยศตำแหน่งอย่างรวดเร็ว อายุเพียง 22 ก็ได้เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐

พออายุ 31 ก็พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ 

ลองดูในดวงชะตาท่าน (ในจาน 90 องศา) จะเห็นอาทิตย์กำเนิดอยู่ห่างพฤหัสกำเนิดประมาณ 20.5 องศา และอยู่ห่างจากอโพลอนกำเนิดประมาณ 31 องศา

ก็คือดาวอาทิตย์ในดวงโค้งนั้นจะจรมาเจอเข้ากับพฤหัสกำเนิดตอนช่วงอายุประมาณ 20 ปีเศษ และก็จะจรเคลื่อนเข้าไปเจอกับอโพลอนกำเนิดตอนช่วงอายุประมาณ 31 ปี

ก็สอดเห็นจะสอดคล้องไปกันได้ดีกับลีลาชีวิตของเจ้าชะตาอยู่ไม่น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าฮาเดสก็รออยู่ตรงประมาณ 45 องศา อายุขัยประมาณ 45 ปี (ครึ่งรอบดาวมฤตยูโดยประมาณพอดี) ก็คือช่วงประมาณปี 2478 ซึ่งเริ่มจะเป็นขาลงของเจ้าชะตาแล้ว (โปรดสังเกตดาวในดวงกำเนิดซึ่งขวางรออยู่เบื้องหน้า)

:)

 

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ตั้งแกนที่ศูนย์รังสี (จาน 2 ชั้น)

การตั้งแกนที่ศูนย์รังสีในดวงแบบจาน 2 ชั้น มีขั้นตอนที่มากขึ้นนิดหน่อยแต่ถ้าฝึกจนคุ้นเคยก็จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร

อันดับแรกก็คืออาดาววงในไปชนกับดาววงนอกตามคู่ศูนย์รังสีที่เราต้องการ เช่นต้องการตั้งแกนที่ศูนย์รังสี AP/HA ก็เอาดาว AP วงนอกไปชน HA วงใน

ถึงตอนนี้เราจะได้จุดศูนย์รังสีขึ้นมา 2 ในดวงชะตา คือ AP วงนอกชน HA วงใน และ AP วงในชน HA วงนอก

และสุดท้าย เราจะเอาจุดดัชนี (จุด 0 องศา) ของจานหมุนไปชี้ที่จุดกึ่งกลางของศูนย์รังสีทั้งคู่นี้ ก็เป็นอันจบสิ้นการทำงาน

ส่วนการอ่านมุมสัมพันธ์ดาวเดี่ยว ศูนย์รังสี หรือจุดอิทธิพลอื่นๆ ก็เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวถึงไปแล้ว


:)

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

จาน 2 ชั้น

 

สำหรับดวงชะตาแบบจานสองนั้น โดยเบื้องต้นขอให้จำง่ายๆ ว่า

 "ดาวจริงวงนอก ดาวสะท้อนอยู่วงใน"

เวลาอ่านจานสองชั้น ถ้าชักจะงงให้ถอยมาตั้งหลักที่ตรงนี้ก่อน

ส่วนดาวสะท้อนของทั้งวงนอกและวงใน(สะท้อนของวงในก็คือดาวจริง) ซึ่งมักเขียนด้วยสีแดงๆ ถ้าไม่อยากงงก็อย่างเพิ่มเติมลงไป เดี๋ยวจะงงซะก่อน

ส่วนคนที่ชำนาญแล้วก็จัดไปตามที่สะดวกได้เลย

ตั้งแกนคำถามในจาน2ชั้น (ปัจจัยเดี่ยว)

ในจาน 2 ชั้น การตั้งแกนคำถามที่ดาวเดี่ยวสามารถทำได้ง่ายๆ โดย "เลื่อนดาวบนมาชนดาวล่าง(ดาวเดียวกัน) แล้วค่อยเลื่อนจานหมุนมาชี้ซ้ำอีกที"

เช่นในภาพนี้ ชี้แกนไปที่ SU ก็เอา SU บนกับล่างมาทับกัน เอาจุดดัชนีของจานหมุนมาชี้ซ้ำเป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการ

  • แกน = ดาวเดี่ยว อ่านแค่วงนอกก็ได้ ไม่ต่างจากจานชั้นเดียว (ในตัวอย่างนี้จะเห็น SU = KR)
  • แกน = ศูนย์รังสี ก็ดูว่ามีดาวบนกับดาวล่างมาจับคู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนจับเป็นคู่ ก็คือศูนย์รังสีของดาวคู่นั้นกำลังทำมุมถึงแกน (อย่าลืมเผื่อระยะวังกะด้วย)

เช่นในตัวอย่างนี้ จะเห็นชัดๆคือคู่ของ HA(บน) กับ AS(ล่าง) ก็คือ AS/HA ทำมุมถึงแกน

ME/SA, JU/SA, SA/PL, ME/UR, JU/UR, PL/UR, MO/AD, MC/MO, ZE/PO, NE/PO, VE/ZE, VE/NE ก็ล้วนทำมุมถึงแกนทั้งสิ้น

:)

การอ่านจาน 2 ชั้น (Double Layer Dial)

ดวงชะตาจาน 2 ชั้น (Double Layer Dial) หรือจานจรัญนั้น ถ้าใช้ดูพื้นชะตาหรือดวงจรโค้งอายุแล้ว ถือว่าเป็นของวิเศษในวงการโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนกันเลยทีเดียว

เช่นในภาพดวงชะตานี้ ตั้วดวงด้วยจาน 2 ชั้น (90 องศา) โดยตั้งแกนคำถาม(วางเบ็ดตกปลา)ไปที่ UR/AP ซึ่งแปลว่า “โหราศาสตร์”

โดยเบื้องต้นเราจะเห็น UR/AP = NO=VE=PO นอกจากนั้นยังถึง -A ในมุมเล็ก และ -KR ในมุมอ่อน

หากกวาดสายตาไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะทางซ้ายหรือทางขวาของแกน เห็นดาววงนอกตรงกับดาววงในที่จุดใด นั่นหมายถึงศูนย์รังสีของดาวนั่นที่กำลังทำมุมถึงแกน

เช่นในภาพดวงชะตานี้จะเห็นชัดๆ ก็คือ SAนอก=VUใน และ ASนอก=SUใน

หมายความว่า SA/VU และ AS/SU นั้นทำมุมถึงแกน UR/AP แล้วแน่ๆ ส่วนคู่อื่นๆ ก็พิจารณากันต่อไปตามค่าวังกะ (ค่าวังกะยิ่งมากดาววงในกับวงนอกยิ่งห่างกัน)

สมมุติอยากรู้ว่าจุด UR+AP-JU (โชคจากโหราศาสตร์) อยู่ตรงไหนของดวงชะตาก็ดูที่ JU ของดวงวงใน อยู่ตรงไหน UR+AP-JU ก็อยู่ตรงนั้นแหละ (เพราะตอนนี้แกนอยู่ที่ UR/AP ส่วนดาววงในก็คือดาวสะท้อนจากแกน)

เราก็มาร์คตำแหน่งนี้เอาไว้ แล้วลองวัดดูว่าจากตำแหน่งนี้ (UR+AP-JU) ไปถึงจุด AR(การรับรู้ของโลก) หรือจุดเจ้าชะตาอื่นๆ นั้นได้กี่องศา

ก็คือจำนวนปีโดยโดยประมาณที่จะเกิดสมการ A+B-C=D เช่นสมมุติว่าวัดแล้วอยู่ห่างกับ AR ประมาณ 73 องศา ก็คือประมาณอายุ 73 ปีก็จะเกิดสมการ UR+AP-JUr = ARv1 ขึ้นในชีวิต 

สำหรับสมการ A/B=C นั้นไม่ยาก เพราะได้จุด UR/AP (A/B) มาแล้วก็เพียงแต่มองหา C บนดวงวงนอก เจอดาวอะไรห่างกันกี่องศาก็แปลงเป็นอายุโค้งได้เลย

เช่นจาก UR/AP จะเห็นว่าห่างจาก JU อยู่ 35 องศา ก็คือ UR/APv1 = JUr เมื่ออายุประมาณ 35 ปี 

หรือจะวัดจากดาวมาหาศูนย์รังสีก็ได้ เช่นวัดจาก SU มาถึงจุด UR/AP นี้ได้ประมาณ 19 องศา ก็คือ UR/APr = SUv1 เมื่ออายุประมาณ 19 ปี 

ดวงชะตานี้เจ้าชะตาปัจจุบันอายุประมาณ 46 ปี ก็คือประมาณ 46 องศาเราดูที่ตำแหน่ง 46 องศายังไม่เจออะไร (แต่ฝั่งตรงข้ามก็มี NO, VE, PO เล็งอยู่) แต่พอประมาณ 48 องศาหรืออายุประมาณ 48 ก็จะเจอกับ KR กลายเป็นสมการ UR/APv1 = KRr ขึ้นมา

เช่นนี้เป็นต้น


:)